
ตำบลวันยาว เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน ๑๒ ตำบลของอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อกันมาว่า
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้นำไพร่พลมาตีเมืองจันทบูร เพื่อยึดเป็นที่รวบรวมไพร่พลกู้เอกราช ขณะนั้นมีชาวบ้าน
บางส่วนที่รักสงบไม่ชอบสงคราม โดยมีตากับยาย(ไม่ทราบชื่อ)ซึ่งเป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน โดยชักชวนชาวบ้านออกเดิน
ทางมุ่งหน้ามาทางทิศบูรพา เพื่อหาที่ทำกินและตั้งถิ่นฐานใหม่ โดยสมัยนั้นใช้เกวียนเป็นพาหนะบรรทุกข้าวของเครื่องใช้บาง
ส่วนมาจากเมืองจันทบูร(เมืองจันทบุรีในปัจจุบัน)เส้นทางระหว่างวัดวันยาวบนจนถึงวัดวันยาวล่างในสมัยนั้น เป็นป่าทึบที่เต็ม
ไปด้วยต้นไม้ใหญ่ เช่น ยางเนิน ยางนา ยางแดง และต้นไม้อื่นๆ อีกหลายชนิดและบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่ติดทะเล เหมาะ
แก่การตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีชาวบ้านเชื้อสายชองอาศัยอยู่บ้างบางส่วน โดยในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกป่านี้
ว่า "วนะ หรือ วนา" ซึ่งแปลว่า "ป่า" ความยาวของป่าทึบที่ใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางนั้นไม่สะดวก ทำให้ชาวบ้านใน
สมัยนั้นได้เรียกขานบริเวณป่าที่ทึบและยาวนี้ว่า "วนะยาว หรือ วนายาว" ต่อมาเรียกผิดเพี้ยนจากเดิม "วนะยาว หรือ
วนายาว" เป็น "วันยาว" ซึ่งต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีชาวบ้านที่มีจิตศรัทธา
ช่วยกันสร้างวัด บริเวณท้ายหมู่บ้านคลองตะเคียน หมู่ที่ ๘ ในสมัยนั้นเรียกว่า "ท่าวัด" ต่อมาได้ย้ายวัดมาอยู่ที่เราเห็นกัน
ในปัจจุบัน และหลวงพ่อเก๋งได้ชักชวนชาวบ้านวันยาวร่วมกันสร้างกุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ อุโบสถ และอื่นๆ จนเป็นวัด
แรกในพื้นที่วันยาวและเรียกว่า "วัดวันยาวล่าง" มาถึงทุกวันนี้จ็